RSS

หมวดสินค้า

รับติดตั้งระบบเสียงซาวด์แดงรีเวิร์สแกน สำหรับเครื่องฉายหนัง 35 มม (Red sound reversed scan for 35 mm projector.) ทั้งโมโน(Mono), สเตริโอ(Stereo)


รับติดตั้งระบบเสียงซาวด์แดงรีเวิร์สแกน สำหรับเครื่องฉายหนัง 35 มม (Red sound reversed scan for 35 mm projector.) ทั้งโมโน(Mono), สเตริโอ(Stereo)  เสียงคมชัดกว่าระบบเดิม ใช้หลอด LED Deep red 5วัตน์ และโซล่าเซล์ Sharp เดินสายสัญญาณแบบบาลานซ์ (Balance) ทำให้สัญญาณรบกวนน้อยมาก

เครื่องที่รับทำโดยทั่วไปจะเป็นหัวขนาดเล็กประกอบด้วย


- หัวฉายโตกิว่า (TOKIWA T-54 T-60)
- ยามากิว่า (YAMAKIWA)
- หัวฉายเซี่ยงไฮ้104X (Shanghai104X)
- หัวฉายวรนันท์
- หัวฉายวิกตอรี (VICTORY) วิกตอรีคิงไลท์ และวิกตอรีญี่ปุ่น
*** ถ้าเป็นหัวโรงขนาดใหญ่ ก็ต้องคุยกันอีกทีครับว่าเป็นหัวรุ่นไหน***

ซาวด์แดงรีเวิร์สแกนสเตริโอ (Stereo  red sound reversed scan.)
ค่าติดตั้ง 4,500-(รวมค่าส่งกลับ)

ซาวด์แดงรีเวิร์สแกนสเตริโอ (Mono  red sound reversed scan.)
ค่าติดตั้ง 2,500-(รวมค่าส่งกลับ)



TOKIWA T-54

35 mm Film VICTORY Projector
VICTORY (King Light)
                             
ลักษณะการติดโซล่าซาวด์ เข้ากับกระบอกเลนส์ซาวด์ในหัวฉาย วิกตอรี
                                        
การเดินสานสัญญาณ เอ้าท์พุท ออกจากเครื่องฉายยี่ห้อวิกตอรี
-------------------------------------------------------------------------------------------

ฟิล์มซาวด์แทร็คแบบเดิม กับฟิล์มซาวแทร็คสีฟ้าเมื่อนำมาฉายในหัวเครื่องที่ติดตั้งซาวด์แดงรีเวิร์สแกนแล้ว ระดับความดังของเสียงจะเท่ากันหรือไม่ รายละัเอียดของเสียงที่ได้มีความแตกต่างกันอย่างไร 

อันแรก เป็นฟิล์มแบบเดิม ซาวด์แทร็กเป็น ดำ-เงิน ดูตามรูปด้านล่างครับ สังเกตว่าเส้นซาวด์แทร็คประกอบด้วยส่วนที่เป็นโปรงแสง สีออกขาวๆ เงินๆ นั่นแหละครับ คือแสงสีแดงหรือสีอื่้นๆ ที่เรายิงมาจะผ่านส่วนที่โปรงแสงนี้แล้วไปตกกระทบโซล่าซาวด์ และก็ส่วนที่เป็นสีดำ ส่วนนี้แสงสีแดงหรือแสงสีอื่นๆจะไม่สามารถผ่านได้

ฟิล์มที่ซาวด์แทร็คเป็นแบบดั้งเดิม



อันที่สอง เป็นฟิล์มแบบใหม่ ซาวด์แทร็คจะเป็นสี ฟ้า- เงิน หรือที่เราเรียกกันว่าซาวด์สีฟ้า สังเกตว่าเส้นซาวด์แทร็คประกอบด้วยส่้วนที่เป็นโปรงแสง สีออกขาวๆ เงินๆ คือแสงสีแดงหรือสีอื่นๆ ที่เรายิงมาจะผ่านส่วนที่โปรงแสงนี้แล้วไปตกกระทบกับโซล่าซาวด์ และก็ส่วนที่เป็นสีฟ้า ส่วนสีฟ้านี้แสงสีแดงจะไม่สามารถผ่านออกไปได้ (สีแดงเมื่อมาผสมกับสีฟ้าก็จะกลายเป็นสีดำ) ส่วนแสงสีอื่นสามารถผ่านส่วนที่เป็นสีฟ้านี้ได้ สังเกตุง่ายๆ เครื่องที่ยังไม่เป็นซาวด์แดงแต่เป็นซาวแบบเดิมซึ่งใช้หลอด เอ๊กไซเตอร์ ที่เป็นแสงสีัส้มๆ เอามาฉายกับฟิล์มซาวด์สีฟ้า เสียงจะไม่ออกหรือออกก็เบาเอามากๆ เพราะแสงสีส้มจากหลอดเอ๊กไซเตอร์ที่ยิงมาจะผ่านได้ทั้งส่วนที่โปรงแสง และส่วนขอบที่เป็นสีฟ้า สัญญาณซาวด์ที่แท้จริงจึงโดนกลบไปหมด เหตุผลที่ต้องทำซาวด์แทร็คเป็นสีฟ้า ก็เพื่อลดต้นทุนการผลิต

ฟิล์มที่ซาวด์แทร็คเป็นสีฟ้า สังเกตว่าส่วนเส้นสีขาวๆเงินๆ คือส่วนที่โปรงแสงแสงสีแดงจะผ่านได้ ส่วนสีฟ้าคือขอบของซาวด์แทร็คแสงสีแดงไม่สามารถผ่านได้ครับ

แสงสีแดงจะไม่สามารถผ่านส่วนสีฟ้าของซาวด์แทร็คได้ เพราะเมื่อผสมสีกันแล้วจะกลายเป็นสีดำครับ  แสงสีแดงจะผ่านได้เฉพาะส่วนของฟิล์มที่เป็นช่องโปร่งแสงหรือซาวด์แทร็คที่บันทึกมานั่นเอง แล้วไปตกกระทบที่แผ่นโซล่าเซล เกิดเป็นสัญญาณเสียงขึ้นมา ภาพนี้ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้นว่าทำไมต้องใช้แสงสีแดงเป็นตัวอ่านซาวด์แทร็คที่ขอบเป็นสีฟ้า



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS