ใบพัดตัดแสงมีความสำคัญช่วยให้ภาพมีความนิ่มนวลมากขึ้น หากใบพัดตัดแสงไม่สัมพันธ์กับหนามเตย จะทำให้เฟรมของภาพมีการสั่นในแนวตั้ง จะมองเห็นเป็นเส้นยาวๆอยู่กลางจอประมาณนั้นครับ วันนี้เลยเอาภาพมาฝาก เอาแบบบ้านๆเลยแล้วกันครับ
ในขณะหมุนแกนมอเตอร์ ให้สังเกตหนามเตยตัวหลัก พอเห็นหนามเตยเริ่มกระดิกเพียงนิดเดียว ก็หยุดหมุนแกนมอเตอร์
จากนั้นปัดใบพัดตัดแสงลงมาบังประตูฟิล์ม แค่บังให้มิดก็พอ อย่าให้เกินลงไปมากกว่านั้น (ถ้าบังเยอะเกินไป ใบพัดตัดแสงอาจเปิดก่อนที่หนามเตยจะหยุดนิ่งสนิท)
แล้วหมุนน๊อตล๊อกใบพัดตัดแสงไว้ตามเดิม ตอนหมุนต้องอย่าให้ใบพัดเคลื่อนนะครับ
จากนั้นลองหมุนแกนมอเตอร์เพื่อทดสอบอีกครั้งครั้บ
พอใบพัดตัดแสงหมุนลงมาปิดประตูฟิล์มมิดพอดี หนามเตยก็จะเริ่มหมุนเพื่อดึงเฟรม หนามเตยจะต้องหยุดนิ่งก่อนที่ใบพัดตัดแสงจะเปิดออก หากใบพัดตัดแสงเปิดออกแล้ว แต่หนามเตยยังขยับอยู่ ก็ให้ไปเริ่มต้นขั้นตอนแรกใหม่้ครั้บ ใบพัดอาจปิดประตูฟิล์มลงมาลึกเกินไปในขั้นตอนแรก
จากนั้นใบพัดตัดแสงเริ่มเปิดออก หนามเตยต้องไม่กระดิกแล้วนะครับ
นี่เป็นการเปิดครั้งที่ 1
เปิิดอีกครั้งที่ 2 หนามเตยก็ยังนิ่งนะครับในช่วงนี้
จากนั้น พอใบพัดปิดประตูฟิล์มมิดพอดี หนามเตยก็จะเริ่มหมุน และจะหยุดนิ่งแบบไม่กระดิกก่อนที่ใบพัดจะเปิดออกครับ
พอใบพัดเริ่มเปิดอีกที หนามเตยก็จะหยุดนิ่ง และก็ทำงานเป็นวงรอบแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ครับ
สรุปคือ เพื่อความนิ่มนวลของภาพ ทุกๆเฟรมจะมีการเปิดให้แสงผ่านถึงสองครั้ง จะออกแบบให้เปิดแสงผ่านมากกว่าสองครั้งก็ได้ครับในแต่ละเฟรม ภาพก็จะยิ่งนิ่มมากขึ้นเวลาดูไม่ปวดตา แต่มีข้อเสียคือ ยิ่งเปิดมากเท่าไหร่แสงก็จะลดน้อยลง พูดง่ายๆคือ ภาพสมูท แต่ต้องแลกด้วยการกินแสง ครับ
หัวฉายขนาดเล็กหรือหัวกระเป๋าโดยทั่วไปใบพัดจะเป็นแบบตรงแบบในภาพนะครับ ส่วนหัววิกตอรี จะเป็นแบบบกรวย หัวเซี่ยงไฮ้ 104 จะเ็ป็นแบบถัง หลักการทำงานก็คงไม่แตกต่างกัน คงพอเป็นแนวทางใด้นะครับ