RSS

หมวดสินค้า

ติดซาวด์แดงรีเวิร์สแกนสเตริโอ เครื่องฉาย 35 มม.วรนันท์



            สวัสดีครับเพื่อนๆคนรักเครื่องฉายหนังทุกๆท่าน พอดีไปเจอหัวฉายยี่ห้อวรนันท์ เห็นว่าสภาพดีก็เลยสอยมาไว้ในความครอบครอง เป็นหัวฉายของหน่วยหนัง ที่ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี เลย
เอาภาพการโมดิฟายมานำเสนอ ให้อ่านกันเล่นๆแบบ ชิล ชิล นะครับ

เริ่มแรกก็ถอดชิ้นส่้วนออก ถอดเฉพาะที่คิดว่าถอดได้ และเข้าเหมือนเดิมได้ เพื่อให้ทำความสะอาดง่ายครับ










อย่างที่รู้กันครับหัวฉายยี่ห้อวรนันท์ เคสจะเหมือนกับ โตกิว่า T60 ต่างกันเพียงข้อปลีกย่อย นิดๆหน่อยๆแค่นั้น
ทำความสะอาดตัวเคส ด้วยผงซักฟอก เพื่อที่จะได้พ่นสีต่อไปครับ
ทีนี้มาดูระบบเสียงที่เราจะติดตั้งเข้าไปบ้างครับ ในภาพเป็นโซล่าเซล สเตริโอ SHARP เป็นแบบสองแผ่นแยกกัน
มาทำความเข้าใจเรื่องสายสัญญาณกันครับ โซล่าเซล หนึ่งแผ่นจะมีัสายสองเส้น คือสายที่มีฉนวนหุ้มกับสายชีล เราจะทำการต่อสายสัญญาณแบบบาลานซ์ เพราะฉนั้นให้กำหนดสายสัญญาณดังนี้ครับ สายสีแดงกำหนดเป็น บวก สายชีลกำหนดเป็นลบ ส่วนกราวด์ให้ใช้แท่นเครื่องเป็นกราวด์ครับ
ขั้นตอนต่อมาก็นำโซล่าเซลมาเข้ากรอบครับ โดยใช้กระดาษแข็งเป็นกรอบ ตัดกระดาษให้ได้ขนาด 3X3 ซม. จะพอดีครับ ติดด้วยกาว ให้ได้ตำแหน่งและจุดศูนย์กลางที่เราทำการคำนวณไว้

!!! โปรดระวัง อย่าให้กาวหรือสารเคมีใดๆสัมผัสกับผิวหน้าของแผ่นโซล่าเซล หรืออย่าใช้น้ำยาที่เป็นกรดด่างเช็ดผิวของโซล่าเซล นะครับ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง หรือโซล่าเซลอาจเสียหายได้ !!!
ติดแผ่นโซล่าทั้งสองแผ่นให้ตรงกัน โดยเว้นช่องว่างระหว่างแผ่นนิดหน่อย
จากนั้นติดกระดาษที่มีขนาดเ่ท่ากันทับแผ่นล่างอีกทีเพื่อเพื่อเป็นกรอบให้กับโซล่าเซลอีกที สังเกตว่ากระดาษชั้นบนจะสูงกว่าแผ่นโซล่าเซลเพียงนิดเดียวเพื่อให้แสงที่ออกมาจากกระบอกเลนส์ซาวด์ตกลงยังแผ่นโซล่าเซลแบบพอดิบพอดี ไม่ห่างจนเกินไป และป้องกันไม่ให้ส่วนของกระบอกเลนส์ซาวด์กดทับโดนแผ่นโซล่าเซลด้วย
ที่เห็นในภาพ เป็นกระบอกโซล่าเซล ให้ถอดโซล่าเซลโมโนตัวเดิมออก แล้วตัดให้เป็นมุมฉากตามรูป เพื่อจะใช้ในการติดหลอด แอลอีดี ครับ อย่าตัดให้ลึกมากนะครับ แค่ว่าวาง แอลอีดี ลงไปแล้วหัวหลอดไม่โผลเกินออกมาจากกระบอกก็พอ เพื่อให้หลอด แอลอีดี อยู่ใกล้กับฟิล์มที่วิ่งอยู่้บนซาวด์ดรั้มมากที่สุด คงนึกภาพออกนะครับ

ติดหลอด แอลอีดี ก่อนติดวัดให้ได้จุดศูนย์กลางด้วยนะครับ จากนั้นบัดกรีสายให้ไว้ก่อน แดงบวก นอกนั้นลบ อ้อ! เจาะรูให้สายเข้าด้วยนะครับ



กาวด์อิบ๊อกซี ใช้สองหลอดผสมกัน ข้อดีของการใช้กาว คือติดแล้วไม่เคลื่อนออกจากที่เดิมครับ ส่วนถ้าใช้น๊อกเกลียว เวลาหมุนน๊อตแล้ว หลอดมักจะเคลื่อนออกไปจากจุดเดิมที่เรากำหนดครับ
ทดสอบครับ OK หลอดที่ใช้เป็นหลอดขนาด 5 V 5W
สว่างจ้าเลยครับ ส่วนเรื่องการระบายความร้อน เฉพาะแผ่นระบายความร้อนของตัวมันเอง ถือว่าเอาอยู่ครับ
จากนั้นประกอบชุดหลอด แอลอีดี เข้ากับก้านยึด เดินสายไฟออกมา มัดด้วยเคเบิ้ลไทด้วยเพื่อความเรียบร้อย แต่ยังไม่ต้องหมุนน๊อตล๊อกนะครับเพราะเราจะต้องไปตั้งหลอดอีกในขั้นตอนต่อไป
ตัวจ่ายไปหลอดแอลอีดี จ่ายได้ 5V 2A อย่าลืมใช้ตัวต้านทานต่ออนุกรมด้วยนะครับ คำนวณเอา ไม่งั้นหลอดขาด เพราะกระแสเกิิน









หลอด แอลอีดี 5W ต้องการแรงดัน 5V 1A

จะใช้ตัวต้านทานค่าเ่ท่าไหร่คำนวณตามสูตรในรูปเลยครับ
เครื่องนี้จะติดหลอดฮาโลเจน 82V 410W แน่นอนต้องมีพัดลมระบายอากาศ ในรูปเป็นภาคจ่้ายไฟให้กับพัดลมครับ แปลงไฟจาก 110V เป็น 12VDC จ่ายให้พัดลม
ตัวจ่ายไฟให้หลอดแอลอีดี และ ตัวจ่ายไฟพัดลม จะตามตำแหน่งในภาพครับ
ขั้นตอนต่อมา ใช้เวอร์เนียร์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของกระบอกเลนส์ซาวด์ เพื่อหาจุดศูนย์กลางของกระบอกเลนส์ซาวด์ครับ
ใช้กระดาษสีขาวบางๆครอบด้านหลังกระบอกเลนส์ซาวด์เพื่อใช้เป็นฉากรับแสงที่ยิงมาจากหลอดแอลอีดี



เปิดหลอดแอลอีดี สังเกตแสงที่ยิงขึ้นมากระทบฉากที่เราทำไว้










ปรับหลอดแอลอีดีให้ยิงขึ้นมาให้ได้จุดศูนย์กลางมากที่สุด โดยสังเกตแสงที่อยู่บนกระดาษ ให้สว่างอยู่้จุดกึ่งกลางมากที่สุดครับ จากนั้นหมุนน๊อต เพื่อล๊อกกระบอก แอลอีดี ทั้งบนและล่างให้แน่นครับ ระวังเวลาหมุนน๊อตจะทำให้กระบอกแอลอีดีเคลื่อนไปจากเดิม ค่อยหมุนแบบสลับกัน ล่างที บนที 
จากนั้นมาร์คแนวเส้นที่แสงแอลอีดีพาดผ่านโดยใช้คัทเตอร์กรีดที่ขอบของกระบอกเลนส์ซาวด์ ระวังอย่างให้โดนตัวเลนส์ครับ เพื่อให้ทราบว่าแสงจะพาดผ่านในแนวไหนของกระบอกเลนส์ซาวด์
วัดและคำนวณครับ ทุำกย่างต้องเป๊ะเวอร์ อิอิ
ทำความสะอาดเลนส์ก่อน ด้วยน้ำยาเช็ดเลนส์ครับ
ติดกระบอกเลนส์ซาวด์เข้ากับโซล่าเซลที่เข้ากรอบไว้แล้ว ในขั้นตอนนี้ทุกอย่างต้องเป๊ะๆ ตามที่มาร์คและคำนวณไว้นะครับ เคลื่อนแม้นิดเดียวเสียงอาจออกไม่เท่ากัน
เรียบร้อยแล้ว ติดด้วยกระดาษฟรอย เพื่อทำหน้าที่เป็นชีลกันสัญญาณรบกวนอีกที
กระดาษฟรอยที่เราติดเพื่อเป็นชีลป้องกันสัญญาณรบกวน จะต้องสัมผัสกับเส้นกราวด์ของสายสัญญาณด้วยนะครับ มิเช่่นนั้นก็คงไม่เกิดประโยชน์ ให้ฟรอยสัมผัสกับสายกราวด์เพียงเส้นเดียง เส้นไดเส้นหนึ่งก็พอ
จากนั้นตัดแผ่นเพลทเพื่อทำตัวยึดปลั๊ก XLR ซึ่งเป็นสัญญาณเอ้าท์พุทครับ
ต่อสายสัญญาณแบบบาลานซ์(BALANCE)ขา1 =กราวด์  ขา2 =บวก   ขา3= ลบ
ตรงจุดต่อสัญญาณหลัง XLR อย่าลืมพันด้วยเทปพันสายแล้วพันทับด้วยฟรอย เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนอีกทีครับ
เรียบร้อยครับ
จากนั้นตัดแผ่นมิเนียมเพื่อทำที่ยึดขั้วหลอดไฟ วัดให้อยู่จุดกึ่งกลางก่อนนะครับ
ติดเข้าแบบนี้ครับ กะว่าใส่หลอดไฟแล้วหน้าหลอดไฟเข้าใกล้ใบพัดตัดแสงมากที่สุด
เพื่อความเข้มของแสง ควรให้หลอดไฟอยู่ใกล้ประตูฟิล์มมากที่สุด แต่อย่าใกล้ใบพัดมากเกินไป ประมาณ  1-2 ซม. แสงจะดีมาก
ติดตัวต้านทานสำหรับหลอด 82 โวลท์ 410 วัตน์เพราะเราต้องต่อเข้ากับไฟ 110 โวลท์ จะทำหน้าที่ดร็อปไฟ  110 โวลท์ ให้เหลือ 82 โวลท์ แต่ถ้าใช้หลอด 100 โวลท์ 360 วัตน์ ก็ไม่ต้องใส่ตัวต้านทานครับ
ใส่น้ำมันเครื่องในจุดต่างๆที่จำเป็นครับ โดยเฉพาะกระปุกจำปา
จุดนี้ก็สำคัญครับ
รอกปรับหลูบฟิล์ม
แกนปรับโฟกัสเลนส์ใน
ตรงนี้ใส่นิดหน่อย
ส่วนที่เป็นเฟืองต่างๆให้ใส่จารบี จะช่วยให้เครื่องเดินนิ่มขึ้น และลดเสียงดังได้ ลองทำดูครับ
ทุกอย่างเรียบร้อย
จากนั้นก็ทดสอบได้เลยครับ
ทดสอบ และตั้งแทร็กเสียงให้เสียงออกเท่ากัน ทั้งสองแชนแนล

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS