RSS

หมวดสินค้า

ติดซาวด์แดงรีเวิร์สแกนสเตริโอ Yamakiwa Y80

่ํํYAMAKIWA Y80 เครื่องนี้อันที่จริงผมไ้ด้มานานแล้วครับแต่ยังไม่มีเวลาที่จะติดระบบเสียง วันนี้มีโอกาสว่างพอดีแล้วนำภาพมาลงให้ดูครับเกี่ยวกับขั้นตอนการทำระบบเสียงซาวด์แดงรีเวิร์สแกน (RED SOUND REVERSE SCAN STEREO)สำหรับเครื่องฉายหนัง 35 มม. เริ่มกันเลยครับ

ขั้นแรกก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ทางช่างที่จำเป็นให้พร้อมครับ มีคีม ไขควง หัวแร้ง ตะกั่ว กรรไกรตัดเหล็ก มัลติมิเตอร์ เวอร์เนีย ท่อหด กาวอีบ๊อกซี่ กาวช้าง เป็นเครื่องมือพื้นฐานทางช่างเชื่อว่าทุกๆท่านคงมีติดบ้านอยู่แล้ว
เดินสายไฟหลอดLED 5 โวลท์ไว้ก่อนครับ แดงบวก ดำลบ
ก่อนติดหลอดให้ลองต่อหลอดดูก่อนนะครับว่าทำงานได้ปกติหรือป่าว
นำหลอด LED มาติดในซาวด์ดรั้มที่เจาะไว้แล้วครับให้ได้ศูนย์มากที่สุด
วัดกระบอกเลนส์ซาวด์ด้วยเวอร์เนียครับ เพื่อจะได้ทราบเส้นผ่าศูนย์กลาง


นำกระดาษทิดชู่มาห่อที่ด้านหลังกระบอกเลนส์ซาวด์เพื่อใช้เ็ป็นฉากเราจะได้มองเห็นว่้าแสงตกกระทบในลักษณะใด
นำซาวด์ดั้มประกอบเข้าที่ เปิดหลอดLED สังเกตแสงที่ตกกระทบบนกระดาษทิดชู่ ปรับฐานหลอดLED จนเห็นแสงที่ตกกระบนกระกาษทิดชู่อยู่จุดกึ่งกลางของกระบอกเลนส์ซาวด์ จากนั้นทำการล๊อกกระบอก LED ครับ










ทำการมาร์คแนวของเส้นแสง โดยใช้คัตเตอร์บากเป็นรอยบนขอบของกระบอกเลนส์ซาวด์ ทั้งด้านนอกและด้านใน ระวังอย่าให้โดนเลนส์นะครับ จากนั้นเอากระดาษทิดชู่ออกได้ครับ
นำโซล่าซาวด์แบบสเตริโอที่เราเข้ากรอบเสร็จแล้วมาแป๊ะเข้าด้านหลังกระบอกเลนส์ซาวด์ให้ตรงกับเครื่องหมายที่เรามาร์ฺคไว้ก่อนหน้านี้ครับ แล้วติดด้วยกาวอีบอกซี่ ขั้นตอนนี้สำคัญ ระวังอย่าให้เคลื่อนนะครับ ถ้าเคลื่อนจากจุดที่เรามาร์คไว้เสียงจะดังไม่เท่ากันทั้งสองแชนแนล
ติดกระดาษฟรอยเพื่อกันสัญญาณรบกวน

ขอแก้ไขนิดนึงครับ
ด้านในคือแชนแนล R,
ด้านนอกคือ แชนแนล L








สายสัญญาณเขียนติดไว้กันลืมว่าเส้นไหนเป็น R L
เปิดหลอดLED นำมิเตอร์มาตั้งไว้ที่ย่่านการวัดไฟดีซี เราจะวัดทีละแชนแนล จะวัดสายแดงกับสายขาว ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดทั้งสองแชนแนลต้องมีแรงดันที่วัดได้เท่ากันครับ 
              เราตั้งที่ย่านวัด 2.5 DC หนึ่งช่องมีค่าเท่ากับ 0.05                       โวลท์ วัดได้ 5 ช่าง ก็เท่ากับ 0.05X5 = 0.25 โวล์ (250               มิลลิโวลท์) วัดทั้งสองแชนแนลเท่ากันเป๊ะครับ
จากนั้นเดินสายสัญญาณมาทางด้านหน้าเครื่องเพื่อที่จะต่อกับ แจ็ค XLR สายสัญญาณพยายามเดินให้ห่างมอเตอร์มากที่สุดเท่าที่พื้นที่จำอำนวยครับ เพราะอาจเกิดสัญญาณรบกวนได้
ตอนนี้เดินมาถึงด้านหน้าเครื่องแล้วนะครับ
โผล่มาแบบนี้ครับ แชนแนลไหนก็จำเอาเองนะครับ
แล้วต่อเข้าที่แจ็ค XLR  สายแดง บวก  สายดำ ลบ สายชีลเป็นกราวด์  ปล.อย่าลืมช๊อตขากราวด์กับขาพิเศษของ XLR ด้วยนะครับ โดยใช้ลวดบัดกรีขาที่เป็นสายชีลโยงไปหาขาพิเศษของXLR ดูตามรูปครับ ทำแบบนี้ทั้งสองแชนแนล ขาพิเศษของ XLR จะต่อลงกราวด์แท่นให้เองโดยอัติโนมัติ กราวด์แท่นเราจะต่อเพียงที่นี่ ที่เดียว ห้ามไปต่อที่อื่นอีกนะครับ เพราะถ้าต่อกราวด์แท่นหลายจุดจะเกิดกราวด์ลูป (ground loop) นั่นคือสาเหตุของเสียงฮัม
ปลั๊ก XLR จะเขียนบอกไว้ครับ  ขา 1 2 3
 ขา 1 = กราวด์
 ขา 2 = บวก
 ขา 3 = ลบ

ขั้นตอนต่อไปก็ทดสอบครับ ผมชอบขั้นตอนนี้มากสุดครับ ไส่ฟิล์มให้เรียบร้อยอย่าให้กลับข้างนะครับ ต่อสายสัญญาณให้เรียบร้อย เปิดหลอด LED แล้วเปิดมอเตอร์เดินเครื่อง
ลืมไปว่าจะต้องตั้งซาวด์ คือการปรับเส้นซาวด์แทร็คให้ตรงกับกระบอกเลนส์ซาวด์ เพื่อให้เสียงดังเท่ากันทั้งสองแชนแนล ตอนนี้เราเดินเครื่องแล้วนะครับ ฉีกกระดาษสีขาวเป็นเศษเล็กๆมาวางหน้ากระบอกเลนส์ซาวด์แต่อย่าบังเลนส์นะครับ จะสังเกตว่าเกิดเส้นสีดำสามเส้นเป็นเงาอยู่บนกระดาษ ใช้ไขควงปรับลูกรอกบนซาวด์ดรั้ม แล้วสังเกตเส้นสีดำสามเส้นที่เป็นเงาอยู่บนกระดาษ ให้เส้นสีดำเส้นกลาง เลื่อนมาอยู่จุดกึ่งกลางของเลนส์ซาวด์
เมื่อปรับเส้นซาวด์แทร็กได้ตรงแล้วก็ทำการล๊อกลูกรอกเลยครับ
ต่อไปก็ขั้นตอนติดหลอดฮาโลเจน เครื่องนี้ผมใช้หลอด ฮาโลเจน 82 โวลท ์ 410 วัตน์ ต่อกับ 110 โวลท์ โดยผ่่านตัวต้านท่านครับ
ทำการวัดช่องแสงของเครื่องแล้วตัดแผ่นเหล็กตามรูปครับ
ประกอบแผ่นเหล็กที่ตัดแล้วเข้ากับขั้วหลอดครับลองเสียงหลอดดูว่าได้ศูนย์หรือป่าว
จากนั้นประกอบเข้าไปในเครื่อง หลอดไฟต้องเข้าใกล้ใบพัดตัดแสงมากที่สุดครับ
ดูอีกทีว่าหลอดตั้งได้ที่จุดศูนย์กลางหรือป่าว
ส่องดูจากด้านหน้าเครื่องจะมองชัดเจนว่าหลอดกินซ้ายหรือขวา ถ้าทุกอย่าง โอเค ก็ไปขั้นตอนต่อไปครับ
หลอดที่ใช้เป็นหลอด 82 โวลท์ แต่เราขี้เกียจหาหม้อแปลงเพิ่มก็ต่อเข้ากับสเต็ปดาวน์ 110 โวลท์ โดยผ่่านตัวต้านทานดังในภาพครับ อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นผักกาดดองนะครับ เป็นกระป๋องตัวต้านทานวัตน์สูง
ตัวต้านทานจะต่ออนุกรมกับหลอด มีแรงดันมาตกคร่อมที่ตัวต้านทาน 28 โวลท์ กระแสไหลในวงจรนี้ 5 แอมป์ เวลาใช้งานตัวต้านทานตัวนี้จะมีความร้อนสูงต้องระวังด้วยครับ อย่าให้สายไฟไปพาดหรือแตะกับตัวต้านทาน มิเช่นนั้นฉนวนสายไฟอาจละลายเกิดลัดวงจรได้ครับ
หลอดไฟจะอยู่ใกล้กับใบพัดตัดแสงมากที่สุดครับเพื่อความเ้ข้มของแสง

ใกล้เสร็จแล้วครับ ต่อไปก็ติดพัดลม เราใช้พัดลม 12 โวลท์ดีซี โดยจะต่อพ่วงไฟเลี้ยงมอเตอร์ 110 โวลท์อุปกรณ์ก็มี
1. หม้อแปลง 220:18 (เมื่อไปต่อกับไฟ 110 โวลท์ จะ       ได้ไฟออก 9 โวลท์ ผ่านวงจรบริจเร็กติฟาย จะได้        เป็น 12 โวลท์ดีซี จ่ายให้พัดลมครับ)
2. ไดโอด
3. คาปาซิเตอร์
 ทั้งหมดก็ต่อตามรูปครับ

การติดหม้อแปลงครับสายด้าน 220 โวลท์ ของหม้อแปลงจะต่อพ่วงเข้ากับมอเตอร์ เมื่อเปิดมอเตอร์ เดินเครื่อง หลอดไฟติด พัดลมก็จะติดพร้อมกัน 

สรุปว่า สเต็ปดาวน์ 110 โวลท์ จ่ายให้ทั้งมอเตอร์ หลอดไฟ และพัดลม







ลองเครื่องครับ มอเตอร์หมุนปกติ พัดลมดูดอากาศทำงานปกติ หลอดไฟสว่างไม่กระพริบ ไม่มีกลิ่นเหม็นไหม้ ไม่มีควันลอยออกมา ก็ถือว่าOK ครับ
อย่าลืมชีลตรงรอยต่อระหว่างพัดลมกับตัวเคสของเครื่องด้วยนะครับเพื่อไม่ให้มีลมรั่ว ลมจะวิ่งจากหน้าหลอดมาด้านหลังเครื่อง หากมีจุดไดจุดหนึ่งรั่วอาจระบายความร้อนได้ไม่เต็มที่

***จบแล้วครับ สงสัยขั้นตอนไหนก็โทรมาคุยกันได้หรือจะคุยกันทาง LINE ก็สะดวก หวัดดีครับ***

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS